สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   วัดบวกครกหลวง   >    เชียงใหม่
เจ้าของบทความ HeartKub    Share
วัดบวกครกหลวง    ขื่อ : วัดบวกครกหลวง

   

   ที่ตั้ง : 24 บ้านบวกครกหลวง ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง หมู่ที่ 1 อยู่ติดกับ กาดดารา

   URL : http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/Chiangmai/data/pic_wat-buakkrokluang.htm

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 24 บ้านบวกครกหลวง ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง หมู่ที่ 1 อยู่ติดกับ กาดดารา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้จากการสอบถามชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้แก ก็ไม่ทราบประวัติความเป็นมาและไม่ทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งใดทราบแต่เพียงว่า วัดบวกครกหลวงในปัจจุบันวัดนี้เดิมชื่อ วัดม่วงคำ ส่วนชื่อว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า บวกครก แปลว่า หลุม คำว่า หลวง แปลว่า ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นการตั้งชื่อตามหมู่บ้านหรือสภาพพื้นที่หรือสภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจมาจากนิทานพื้นบ้านของหมู่บ้านที่เล่าต่อมาว่า นานมาแล้วหมู่บ้านบวกครกหลวงแห่งนี้ได้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก ดังนั้นเจ้านายทางเชียงใหม่จึงนำข้าวออกมาจากท้องพระคลัง และได้ขุดหลุมขนาดใหญเพื่อตำข้าวแจกจ่ายแกประชาชน ซึ่งอาจเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัดจากเรื่องราวในนิทานพื้นบ้านก็เป็นได้


  รายละเอียด :

สร้างครั้งใดไม่ปรากฏประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี วิหารนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ. 2468 ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาด้วย หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้าทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได ซึ่งทำเป็นมกรอมนาคที่มีปากลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทองลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง

 
จากแผนผังวิหารแห่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทำเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง 14 ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนำเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง
 
วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหมซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายใจวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลางวิหารถึง 12 ต้น ภายหลังจึงได้มีการทำผนังทึบขึ้นมา 3 ด้านคือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้เป็นการรับน้ำหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้าเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม
 
หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์ เป็นรูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งวารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทำเป็นราวบันไดรูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ
 
หน้าบันวิหารเป็นหน้าบันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ. 2468 สันนิฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวยลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีอยู่ 2 ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหลท่านั้น
 
นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฎีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหารด้วย (ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 80-82)
 
ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อราว พ.ศ.2586 สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย มีความสำคัญ ในแง่ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ พระวิหารที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม จากลักษณะทรวดทรงและประดับลวดลายของพระวิหารรวมทั้งภาพจิตรกรรม พอจะประมาณได้ว่าคงสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2400 ลงมา
 
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ วิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ภาพแต่ละส่วนจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก ส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น ซึ่งที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และเวสสันดรชาดก
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย
 
สำหรับสีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงนี้พอจะจำแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลือง – น้ำตาล สีดำ และสีขาว ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงจึงถือเป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและการแต่งกายแบบพม่าและไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่น จุนโอ๊ก, ขันชี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ้ม ด้วย ซึ่งลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้นจึงเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนา โดยอาจมีข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางด้วย

  เงื่อนไข :

ไปเที่ยวได้ทั้งปี


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 7288 โหวต : 594
Google Map

ประวัติการเข้าชม
อ่าวหยงกาเส็ม
พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา
เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง
วัดเขียนบูรพาราม
ปราสาทจอมพระ


ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว เชียงใหม่ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   อุทยานแห่งชาติออบหลวง  (10666)
   พิพิธภัณฑ์ชาวเขา  (6553)
   ฝนหลวงโครงการในพระราชดำริ  (3256)
   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  (7130)
   จุดชมวิวขอบด้ง  (2728)
   สวนส้มธนาธร  (3119)
   ดอยม่อนจอง  (4860)
   กาดดารา  (9822)
   บ้านร้อยอันพันอย่าง  (4019)
   วัดเชียงมั่น  (6203)
   โครงการหลวงหนองหอย  (3086)
   ไร่สตรอเบอรี่แม่ริม  (2672)
   ขนมปังมีศุข  (2778)
   วัดศรีสุพรรณ  (2832)
   ท่าตอน-แม่น้ำกก  (13661)
   น้ำตกหมอกฟ้า  (6796)
   ไร่ชา2000  (2944)
   ดอยอินทนนท์  (12772)
   วัดถ้ำเชียงดาว  (9844)
   วัดอินทขีลสะดือเมือง  (2208)
ร้านอาหาร
   ร้านอาหารคำดารา  (2839)
   เจ๊ดา  (6384)
   อ่างขางถิงถิงโภชนา  (3146)
   ร้านอาหารน้ำแม่ปิง  (5359)
   ร้านเดอะไรท์เตอร์คลับแอนด์ไวน์บาร์  (3250)
   สามเสนวิลล่าเชียงใหม่  (3635)
   le-crystal-restaurant  (2462)
   กฤษโอชา  (4075)
   โบ๊ตเบเกอรี่-เชียงใหม่  (5948)
   สอาดเย็นตาโฟกลางเวียง  (4089)
   ร้านทับริมธาร  (3475)
   บ้านไร่ยามเย็น  (3528)
   ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกรุงสุโขทัยเฮียป้อม  (4752)
   ร้านอาหาร-รสมือแม่-เชียงใหม่  (4212)
   ร้านดอกเหมย  (2876)
   คั่วไก่นิมมาน  (2588)
   ดับเบิ้ลยูบายหวานละมุน  (4348)
   ระเบียงริมสวน  (3658)
   ลากริตต้า  (4594)
   ยามาโต้-เชียงใหม่  (6006)
ที่พัก
   บ้านระเบียงนาป่าบงเปียง  (2644)
   หมู่บ้านกระเหรี่ยง-karen-hilltribe-lodge  (5066)
   บ้าน-ท่าศาลา  (6252)
   บ้านไร่ล้านนารีสอร์ท  (5232)
   ร่มเย็นการ์เด้นรีสอร์ท  (6827)
   บ้านสวนชายดอย  (7211)
   เดอะ-สมอล-เชียงใหม่  (5875)
   อโมรา-โฮเทล-เชียงใหม่  (5180)
   เชียงใหม่-ฮิลล์-2000-โฮเทล  (5629)
   บ้านวีว่าซิตี้  (5814)
   ณวสรวงรีสอร์ต  (6649)
   ลิตเติ้ลโฮมอินทนนท์  (4619)
   ลิตเติ้ลโฮม-อินทนนท์รีสอร์ท  (7873)
   วีรันดา-เชียงใหม่-เดอะไฮท์-รีสอร์ท  (8461)
   ดาราดาเลบ้านดินออร์แกนิคฟาร์ม  (2338)
   ระรินจินดา-เวลเนส-สปา-รีสอร์ท  (5717)
   โรงแรม-กรินทร์ทิพย์-วิลเลจ  (5783)
   ดี-ทู-เชียงใหม่  (5720)
   วีระชัย-วิลล่า  (5772)
   the-log-of-paradis  (6534)
ของฝาก
   ผักปลอดสารพิษ  (15164)
   บ้านถวาย  (15813)
   ร่มบ่อสร้าง  (13244)
   หวานละมุนเชียงใหม่  (6100)
   ตลาดวโรรส  (4127)
   โรงงานไทยศิลาดล  (11629)
เทศกาล
   ประเพณีบูชาเสาอินทขิล  (5497)
   งานประเพณียี่เป็ง-จังหวัดเชียงใหม่  (5065)
   เชียงใหม่เคาท์ดาวน์-2010  (6242)
   เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง  (7192)
   งานปี๋ใหม่เมือง-ดอกเอื้องงาม  (4793)
   งานสืบฮีตสานฮอย-ของดีบ่เก่า  (5488)
   ไชน่าทาวน์เมืองเชียงใหม่  (5305)
   การบูชาเสาอินทขิล  (4479)
   มหาศุกร์สนุกสาดม่วนกันหน้ากาด  (4554)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ  (392)
   งานทอเส้นฝ้ายสานเส้นใยใส่สีธรรมชาติครั้งที่14  (4747)
   งานเทศกาลบอลลูนนานาชาติเชียงใหม่ครั้งที่6  (4294)
   งาน-ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่2556-จ-เชียงใหม่  (4556)
   งานกุหลาบเหมันต์เชียงใหม่-ปี-2553  (905)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพในวันวิสาขบูชา  (4476)
   การแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ  (4321)
   ราชพฤกษ์-2554  (5)
   งานไม้ดอกไม้ประดับเชียงใหม่-ประจำปี2556  (4212)
   งานพืชสวนโลก-2553-2554  (64570)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)